คำแนะนำ
เริ่มต้นสร้างบ้าน
สมาร์ทโฮม
: สมาร์ทโฮม 101
Published: 25 September 2023
เทคโนโลยี
การเชื่อมต่อ
อุปกรณ์สมาร์ทโฮม
อุปกรณ์สมาร์ทโฮมแต่ละรุ่น แต่ละชนิด มีวิธีส่งข้อมูล และเชื่อมต่อต่าง ๆ กัน ส่งผลต่อความสามารถ และการเลือกซื้อ การทำงานร่วมกันได้ของแต่ละอุปกรณ์
มาตรฐาน / คลื่น
เชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฮม
มีรูปแบบการเชื่อมต่อมากมายที่ถูกใช้ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์สมาร์ทโฮมและระบบสมาร์ทโฮมทั่วทั้งบ้าน ทั้งที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานกับระบบสมาร์ทโฮมหรือ IoT โดยเฉพาะ และที่นำระบบที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้กับการทำงานสมาร์ทโฮม
การเชื่อมต่อแต่ละรูปแบบมีการทำงาน รูปแบบ การใช้พลังงาน ความสามารถ ความเสถียร และข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป และยังอาจจะรองรับกับแพลตฟอร์มสมาร์ทโฮมบางแพลตฟอร์มเป็นพิเศษอีกด้วย
Bluetooth /
Bluetooth Low Energy (BLE)
เจ้าของ: Bluetooth SIG (รวมบริษัทชั้นนำในอุตสหกรรมการสื่อสาร)
มาตรฐาน: IEEE 802.15.1
คลื่นความถี่ที่ใช้: 2.4 GHz
ระยะสัญญาณ: สูงสุด 100-200 เมตร (ที่โล่ง) / 50-80 เมตร (ในอาคาร)
ระดับการใช้พลังงาน: ปานกลาง / BLE ใช้พลังงานต่ำ
ความเร็วในการส่งข้อมูล: สูงสุด 50 Mbps / BLE 2 Mbps
สร้างเครือข่ายตาข่าย (Mesh): รองรับ (อุปกรณ์ส่วนใหญ่อาจไม่รองรับ)
ต้องมีฮับ/เกตเวย์: มี หรือไม่ก็ได้ (เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ได้โดยตรง)
รองรับ Matter: รองรับ
การทำงานผ่านเครือข่ายภายใน (ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต): รองรับ
ประเภทอุปกรณ์ที่มักใช้งาน: กลอนประตู / เซ็นเซอร์ / แสงไฟ
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth / BLE
Nanoleaf Essentials E27 Smart Bulb
Nanoleaf Essentials Lightstrip
อุปกรณ์สมาร์ทโฮมที่ใช้งาน Bluetooth สามารถตั้งค่าและใช้งานได้ง่าย เนื่องจากเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ได้โดยตรง ไม่ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม (การเชื่อมต่อโดยตรงอาจใช้ได้ทีละอุปกรณ์ และต้องอยู่ในระยะบลูทูธ) หากต้องการใช้งานระยะไกลต้องมีเกตเวย์หรือฮับ (เช่น Apple TV / HomePod) ขณะเดียวกันระยะสัญญาณอาจไม่ไกลนัก (สำหรับการใช้ IoT) และอุปกรณ์สมาร์ทโฮมที่ใช้บลูทูธมักไม่รองรับการทวนสัญญาณเพื่อเพิ่มระยะ (Mesh Network)
แพลตฟอร์มสมาร์ทโฮมที่รองรับอุปกรณ์ Bluetooth จำนวนมาก คือ Apple HomeKit
Thread
เจ้าของ: Thread Group (รวมบริษัทชั้นนำในอุตสหกรรมการสื่อสาร)
มาตรฐาน: IEEE 802.15.4
คลื่นความถี่ที่ใช้: 2.4 GHz
ระยะสัญญาณ: สูงสุด 30 เมตร (ที่โล่ง) / 15 เมตร (ในอาคาร)
ระดับการใช้พลังงาน: ใช้พลังงานต่ำ
ความเร็วในการส่งข้อมูล: สูงสุด 250 Kbps
สร้างเครือข่ายตาข่าย (Mesh): รองรับ
ต้องมีฮับ/เกตเวย์: ต้องมี (อาจเรียกว่า Thread Border Router)
รองรับ Matter: รองรับ
การทำงานผ่านเครือข่ายภายใน (ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต): รองรับ
ประเภทอุปกรณ์ที่มักใช้งาน: เซ็นเซอร์ / แสงไฟ
Thread เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อสมาร์ทโฮมโดยเฉพาะ โดยกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์สมาร์ทโฮม (เช่น Apple, Google, Somfy, Samsung, Yale) ออกแบบมาให้มีการทวนสัญญาณ (เฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ไฟตลอดเวลา ไม่ใช้ถ่าน) สร้างเครือข่ายตาข่าย (Mesh) เพื่อให้สัญญาณครอบคลุม โดยอุปกรณ์ Thread บางรุ่นอาจรองรับ Bluetooth ด้วย
ฮับหรือเกตเวย์สำหรับ Thread เรียกว่า Thread Border Router โดยอุปกรณ์เหล่านี้มักสามารถทำหน้าที่เป็นอย่างอื่นได้ด้วย ต่างจากฮับ Zigbee หรื Z-Wave ที่มักเป็นฮับโดยเฉพาะเท่านั้น
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่าน Thread
Nanoleaf Essentials E27 Smart Bulb
Nanoleaf Essentials Lightstrip
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น Thread Border Router (เชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่าน Wi-Fi)
Nanoleaf Canvas / Elements / Lines
Nanoleaf Shapes - Light Hexagons/Triangles/Mini Triangles
Apple TV 4K Gen. 2 / Gen. 3 (with Wi-Fi + Ethernet)
Wi-Fi
เจ้าของ: Wi-Fi Alliance (รวมบริษัทชั้นนำในอุตสหกรรมการสื่อสาร)
มาตรฐาน: IEEE 802.11
คลื่นความถี่ที่ใช้: 2.4 GHz และ 5.0 GHz
ระยะสัญญาณ: สูงสุด 90 เมตร (ที่โล่ง) / 45 เมตร (ในอาคาร) *เฉพาะคลื่น 2.4 GHz
ระดับการใช้พลังงาน: ใช้พลังงานสูง
ความเร็วในการส่งข้อมูล: สูงสุด 600 Mbps (802.11n หรือ Wi-Fi 4)
สร้างเครือข่ายตาข่าย (Mesh): รองรับ (ขึ้นอยู่กับเราเตอร์)
ต้องมีฮับ/เกตเวย์: ไม่ต้องมี
รองรับ Matter: รองรับ
การทำงานผ่านเครือข่ายภายใน (ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต): รองรับ (แล้วแต่อุปกรณ์; บางอุปกรณ์อาจต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา)
ประเภทอุปกรณ์ที่มักใช้งาน: เครื่องปรับอากาศ / เครื่องฟอกอากาศ / กล้องรักษาความปลอดภัย / กริ่งประตู / อุปกรณ์ควบคุมประตูรั้ว / แสงไฟ / สวิตช์
เครื่อข่าย Wi-Fi อาจถือเป็นเครือข่ายพื้นฐานที่สุดที่แทบทุกบ้านต้องมี อุปกรณ์สมาร์ทโฮมมีให้เลือกหลากหลาย หาง่าย และใช้งานเชื่อมต่อกับเครือข่ายของบ้านที่มีอยู่แล้วได้เลย ไม่ต้องมีอุปกรณ์เช่นฮับเพิ่มเติม และหากเครือข่าย Wi-Fi ของครอบคลุมบ้านอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติมนอกจากนำอุปกรณ์สามาร์ทโฮมชิ้นใหม่มาเชื่อมต่อเข้ากับ Wi-Fi แต่หากเครือข่ายไม่ครอบคลุมอาจต้องมีการอัปเกรดที่ราคาสูง รวมถึงอุปกรณ์ IoT/สมาร์ทโฮมที่ใช้ Wi-Fi ก็จะต้องแบ่งปริมาณการรับส่งข้อมูลที่ใช้ได้ของคุณ (bandwidth) กับอุปกรณ์อื่น ๆ ในบ้านทั้งหมดด้วย
อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Wi-Fi จะต่างจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อรูปแบบอื่น ๆ เพราะจะอาศัยเครือข่าย Wi-Fi ที่มีอยู่แล้ว (สร้างโดยเราเตอร์หรือ AP ของคุณ) และยังสามารถทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมต่าง ๆ ต่ออินเตอร์เน็ตได้โดยตรง (การเชื่อมต่อด้วยคลื่นอื่นอาจใช้ฮับหรือเกตเวย์มาต่อกับไวไฟอีกทอด เพื่อต่ออินเตอร์เน็ต) ทั้งนี้อุปกรณ์สมาร์ทโฮม Wi-Fi บางรุ่น/ยี่ห้ออาจต้องการการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ซึ่งเมื่ออินเตอร์เน็ตไม่ทำงาน อาจส่งผลต่อการใช้งานได้
แม้อุปกรณ์ที่ใช้ Wi-Fi อาจไม่เหมาะกับบ้านสมาร์ทโฮมที่มีอุปกรณ์จำนวนมาก แต่สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก เช่น กล้อง ก็ยังคงจำเป็นต้องใช้ Wi-Fi ในการเชื่อมต่อเป็นหลัก
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi
EVVR HomeKit In-Wall Relay Switch
meross Smart Wi-Fi Air Purifier
Somfy Outdoor Camera
Somfy Indoor Camera
Zigbee
เจ้าของ: Connectivity Standars Alliance: CSA (เดิม Zigbee Alliance)
มาตรฐาน: IEEE 802.15.4
คลื่นความถี่ที่ใช้: 2.4 GHz
ระยะสัญญาณ: สูงสุด 300 เมตร (ที่โล่ง) / 75 เมตร (ในอาคาร)
ระดับการใช้พลังงาน: ใช้พลังงานต่ำ
ความเร็วในการส่งข้อมูล: สูงสุด 250 Kbps
สร้างเครือข่ายตาข่าย (Mesh): รองรับ
ต้องมีฮับ/เกตเวย์: ต้องมี
รองรับ Matter: ไม่รองรับโดยตรง (สามารถเชื่อมต่อผ่านฮับที่รองรับได้)
การทำงานผ่านเครือข่ายภายใน (ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต): รองรับ
ประเภทอุปกรณ์ที่มักใช้งาน: แสงไฟ / เซ็นเซอร์ / สวิตช์ / ผ้าม่าน
Zigbee เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อที่ออกแบบมาสำหรับระบบ IoT หรือสมาร์ทโฮมโดยเฉพาะ โดยใช้พื้นฐานจากมาตรฐาน IEEE 802.15.4 ออกแบบมาให้มีการทวนสัญญาณ (เฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ไฟตลอดเวลา ไม่ใช้ถ่าน) สร้างเครือข่ายตาข่าย (Mesh) เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมทั้งบ้าน หรือสามารถใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ Zigbee เพื่อขยายสัญญาณให้ครอบคลุมได้อีกด้วย
โดยปกติแล้วอุปกรณ์ Zigbee (ทั้งอุปกรณ์ควบคุม เซ็นเซอร์ และฮับ) สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด โดยไม่จำกัดยี่ห้อ โดยอุปกรณ์แต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติการทำงานพื้นฐานที่กำหนดไว้แล้ว สามารถเรียกใช้ได้โดยไม่จำกัดผู้ผลิต (เช่น หลอดไฟ สามารถเปิด ปิด ปรับสี ปรับความสว่าง) แต่ผู้ผลิตหลายรายอาจมีการปรับ หรือสร้างซอฟต์แวร์ที่แตกต่างออกไป ทำให้อุปกรณ์จะทำงานได้เต็มความสามารถเมื่อใช้งานร่วมกับแอป และอุปกรณ์อื่น ๆ จากผู้ผลิตนั้น หรือพันธมิตรที่กำหนดเท่านั้น หากใช้งานกับอุปกรณ์ Zigbee ทั่วไป จะทำงานได้ไม่สมบูรณ์
Zigbee ใช้คลื่น 2.4 GHz ซึ่งเป็นความถี่เดียวกับ Wi-Fi และมาตรฐานการเชื่อมต่ออื่น ๆ ซึ่งอาจสามารถรบกวนการทำงานของกันและกันได้
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่าน Zigbee
Z-Wave
เจ้าของ: Z-Wave Alliance / Silicon Labs
คลื่นความถี่ที่ใช้: 800-900 MHz *ประเทศไทยใช้คลื่น 920 MHz
ระยะสัญญาณ: สูงสุด 100 เมตร (ที่โล่ง) / 30 เมตร (ในอาคาร)
ระดับการใช้พลังงาน: ใช้พลังงานต่ำ
ความเร็วในการส่งข้อมูล: สูงสุด 100 Kbps
สร้างเครือข่ายตาข่าย (Mesh): รองรับ
ต้องมีฮับ/เกตเวย์: ต้องมี
รองรับ Matter: ไม่รองรับโดยตรง (สามารถเชื่อมต่อผ่านฮับที่รองรับได้)
การทำงานผ่านเครือข่ายภายใน (ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต): รองรับ
ประเภทอุปกรณ์ที่มักใช้งาน: กลอนประตู / เซ็นเซอร์ / สวิตช์
Z-Wave เริ่มพัฒนาโดยบริษัท Zensys ในประเทศเดนมาร์ก เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อที่ออกแบบมาสำหรับระบบ IoT หรือสมาร์ทโฮมโดยเฉพาะ ออกแบบมาให้มีการทวนสัญญาณ (เฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ไฟตลอดเวลา ไม่ใช้ถ่าน) สร้างเครือข่ายตาข่าย (Mesh) เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมทั้งบ้าน หรือสามารถใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ Zigbee เพื่อขยายสัญญาณให้ครอบคลุมได้อีกด้วย
โดยปกติแล้วอุปกรณ์ Z-Wave (ทั้งอุปกรณ์ควบคุม เซ็นเซอร์ และฮับ) สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด โดยไม่จำกัดยี่ห้อ โดยอุปกรณ์แต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติการทำงานพื้นฐานที่กำหนดไว้แล้ว
Z-Wave ใช้คลื่นความถี่ 800-900 MHz ซึ่งแตกต่างจากเครือข่ายอื่น ๆ ช่วยลดโอกาสการกวนสัญญาณกันกับ Wi-Fi หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่อาจใช้คลื่น 2.4 GHz และสามารถส่งสัญญาณได้ไกลด้วยการใช้พลังงานต่ำอีกด้วย
ฮับสมาร์ทโฮมบางรุ่น อาจรองรับการเชื่อมต่อด้วยหลายมาตรฐาน เช่น รองรับทั้ง Z-Wave และ Zigbee ทำให้สามารถทำงานกับอุปกรณ์ทั้งสองรูปแบบ และอาจทำให้อุปกรณ์ทั้งหมดทำงานร่วมกันได้อีกด้วย
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่าน Z-Wave